วันอังคารที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ส่วนประกอบของเครือข่าย(บทที่ 5)

1. ส่วนประกอบของเครือข่าย ( Network Component )
เครือข่าย

                 ในชีวิตประจำวันของเรานั้นเกี่ยวข้องกับเครือข่ายตลอดเวลา เพระทุกการติดต่อสื่อสารนั้นต้องผ่านระบบเครือข่ายมาแล้วทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น โทรศัพท์ SMS  ATM  วิทยุ โทรทัศน์ ล้วนเป็นระบบเครือข่ายทั้งสิ้น โดยที่ Internet เป็นระบบเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุดในโลก ในที่นี้จะกล่าวถึงส่วนประกอบของระบบเครือข่าย ซึ่งประกอบไปด้วย
       · เครื่องบริการข้อมูล (Server)
       · เครื่องลูกข่ายหรือสถานี (Client)
       · การ์ดเครือข่าย (Network Interface Cards)
       · สายเคเบิลที่ใช้บนเครือข่าย (Network Cables)
       · ฮับหรือสวิตช์ (Hubs and Switches)
       · ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (Network operating System)

เครื่องศูนย์บริการข้อมูล
โดยมักเรียกว่า เครื่องเซิร์ฟเวอร์ เป็นคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่บริการทรัพยากรให้กับเครื่องลูกข่าย เช่น การบริการไฟล์ การบริการงานพิมพ์ เป็นต้น เนื่องจากเครื่องเซฟเวอร์มักต้องรับภารกิจหนักในระบบจึงมักใช้เครื่องที่มีขีดความสามารถมาเป็นเครื่องแม่ข่าย

เครื่องลูกข่ายหรือสถานีเครือข่าย
เครื่องลูกข่ายเป็นคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับระบบเครือข่าย ซึ่งอาจเรียกว่า เวิร์กสเตชัน ก็ได้ โดยมักเป็นเครื่องของผู้ใช้งานทั่วไปสำหรับติดต่อเพื่อขอใช้บริการจากเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งสามารถจะขอหรือนำ software ทั้งข้อมูลจากเครื่องแม่ข่ายมาประมวลผลใช้งานได้และยังติดต่อสื่อสาร รับ-ส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆในเครือข่ายได้

การ์ดเครือข่าย
แผงวงจรสำหรับใช้ในการเชื่อมต่อสายสัญญาณของเครือข่าย คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเครือข่ายจะต้องมีอุปกรณ์นี้ และหน้าทีของการ์ดก็คือ แปลงสัญญาณของคอมพิวเตอร์ส่งผ่านไปตามสายสัญญาณทำให้คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้

สายเคเบิลที่ใช้บนเครือข่าย
เครือข่ายคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีสายเคเบิลเพื่อใช้สำหรับเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ให้อยู่บนเครือข่ายเดียวกันเพื่อสื่อสารกันได้  นอกจากนี้เครือข่ายยังสามารถสื่อสารระหว่างกันโดยไม่ใช้สายก็ได้ เรียกว่า เครือข่ายไร้สายโดยสามารถใช้คลื่นวิทยุหรืออินฟาเรด เป็นตัวกลางในการปลงสัญญาณ อีกทั้งยังสามารถนำเครือข่ายแบบมีสายและเครือข่ายแบบไร้สายมาเชื่อมต่อเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายเดียวกันได้

ฮับและสวิตช์
เป็นอุปกรณ์ฮับและสวิตช์มักนำไปใช้เป็นศูนย์กลางของสายเคเบิลที่เชื่อมต่อเครือข่ายเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งฮับหรือสวิตช์จะมีพอร์ตเพื่อให้สายเคเบิลเชื่อมต่อเข้าระหว่างฮับกับคอมพิวเตอร์ โดยจำนวนพอร์ตจะขึ้นอยู่กับแต่ละชนิด เช่น แบบ 4 , 8, 16 , 24 พอร์ต ยังสามารถนำฮับหรือสวิตช์หลายๆตัว มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกันเพื่อขยายเครือข่ายได้อีกด้วย

ระบบปฏิบัติการเครือข่าย
เครื่องแม่ข่ายของระบบจำเป็นต้องติดตั้งระบบปฏิบัติการเครือข่ายไว้ เพื่อทำหน้าที่ควบคุมและรองรับการทำงานของเครือข่ายไว้ เครือข่ายที่มีประสิทธิภาพจำเป็นต้องพึ่ง Software ที่มีประสิทธิภาพตามด้วยเช่นกัน

รูปแบบของเครือข่าย

แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. เครือข่ายแบบ Client/Server
2. เครือข่ายแบบ Peer To Peer
เครือข่ายแบบ Client/Server
เครือข่ายแบบ Client/Server

                   เป็นเครือข่ายที่มีคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์ ไว้คอยบริการข้อมูลให้กับลูกเครือข่าย โดยมีฮับหรือสวิตซ์เป็นตัวกลาง โดยคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะถูกเชื่อมต่อกับฮับเพื่อทำหน้าที่เชื่อมต่อระห่างกันและสมารถขอใช้บริการ web server , mail server , file server และ print server ได้ เครือข่ายประเภทนี้อาจมีเซฟเวอร์ตัวหนึ่งทำหน้าที่หลายๆหน้าที่บนเครื่องเดียวหรืออาจทำหน้าที่เฉพาะก็ได้
web server  : บริการ HTTP เพื่อให้ผู้ใช้สามารถอ่านข้อมูลทางภาพและเสียงผ่าน web browser เช่น google เป็นต้น
mail server : เครือบริการรับส่งจดหมายสำหรับสมาชิก บริการที่มีให้ใช้ เช่น ส่งจดหมาย รับจดหมาน หรือการมือ addressbook ตัวอย่าง mail server ที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไป ได้แก่ hotmaik หรือ Thaimail เป็นต้น
 file server : เซฟเวอร์ที่มีหน้าที่จัดเก็บไฟล์โยการจัดเก็บไฟล์นั้นเสมือนเป็นฮาร์ดดิสศูนย์รวม เสมือนว่าผู้ใช้งานทุกคนมีที่เก็บข้อมูลที่เดียว สามรถดูแลรักษาข้อมูลได้ง่ายและป้องกันความซ้ำซ้อนของข้อมูล ข้อมูลดังกล่าวสมารถแชร์ให้เครื่องอื่นได้
print server : เซฟเวอร์ที่มีหน้าที่ในการจัดการแบ่งปริ้นเตอร์ในสำนักงาน จากเครื่องปริ้นเตอร์เครื่องเดียวให้ผู้อื่นสามรถสั่งปริ้นได้ หน้าที่หลักๆของปริ้นเซฟเวอร์คือ ช่วยในการแบ่งปัน จัดคิวในการใช้เครื่องปริ้นร่วมกันในองค์กรได้

ข้อดี ข้อเสียของระบบ Client/Server

ข้อดี
1.             เครือข่ายมีเสถียรภาพสูง และสามารถเพิ่มลดได้ตามต้องกัน
2.             มีความปลอดภัยสูงทั้งด้านข้อมูลและการจัดการ user
 ข้อเสีย
1.             ต้องใช้ทุนในการลงทุนสูง
2.             ต้องพึ่งพาผู้ควบคุมที่มีความรู้ มีความเชี่ยวชาญ

เครือข่าย Peer To Peer
เครือข่าย Peer To Peer

       เป็นระบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องบนเครือข่ายมีฐานะเท่าเทียมกันโยที่ทุกเครื่องจะต่อสายเคเบิลเข้ากับฮับหรือสวิตซ์ทุกเครื่องสามารถใช้ไฟล์ในเครื่องอื่นได้และสามารถให้เครื่องอื่นมาช้ไฟล์ของตนเองได้เช่นกัน ระบบเครือข่ายประเภทนี้มักจะใช้งานในหน่วยงานขนาดเล็กหรือใช้คอมพิวเตอร์ไม่เกิน 10 เครื่อง อาจมีปัญหาเรื่องความปลอดภัยในระบบเนื่องจากข้อมูลที่เป็นความลับะถูกส่งไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นด้วยเช่นกัน

ข้อดี ข้อเสียของระบบ Peer To Peer

ข้อดี
1.             ลงทุนต่ำ
2.             ไม่ต้องดูแลผู้ดูแลระบบ
3.             ติดตั้งง่าย
 ข้อเสีย
1.             มีขีดความสามารถจำกัด
2.             มีระบบความปลอดภัยต่ำ
3.             มีปัญหาเกี่ยวกับการขยายเครือข่าย

 
2. อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับเชื่อมต่อระบบเครือข่าย

       2.1 รีพีตเตอร์ ( Repeater )
มัลติเพล็กซ์เซอร์ multiplexer

       ในระบบ Lan โดยทั่วไปนั้น ยิ่งคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องอยู่ไกลกันมากเท่าไร สัญญาณที่จะสื่อถึงกันเริ่มเพี้ยนและจะจางหายไปในที่สุดจึงต้องมีอุปกรณ์เสริมพิเศษที่เรียกว่า รีพีตเตอร์ ขึ้นมาทำหน้าที่ในการเดินสัญญาณคือช่วยขยายสัญญาณไฟฟ้าที่ส่งบนสาย Lan ให้แรงขึ้นและจัดรูปสัญญาณที่เพื้ยนให้กลับเป็นเหมือนเดิม

       2.2 ฮับ ( Hub )
ฮับ (HUB)

       ทำหน้าที่เปรียบเสมือนศูนย์กลางที่กระจายข้อมูลช่วยให้คอมพิวเตอร์ต่างๆบนเครือข่ายสามารถสื่อสารถึงกันได้ คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะต่อเข้ากับฮับโยสายเคเบิลแล้วส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์จากเคราองหนึ่งไปยังอีกเครือหนึ่งโยงผ่านฮับ ฮับไม่สามารถระบุแหล่งที่มาข้อมูลและปลายทางของข้อมูลที่ส่งไปได้ ดังนั้นฮับจะส่งข้อมูลไปให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับฮับทุกเครื่องรวมถึงเครื่องที่ส่งข้อมูลด้วย ฮับไม่สามรถรับและส่งข้อมูลได้ในเวลาเดียวกันจึงทำให้ฮับทำงานช้ากว่าสวิตซ์ การเชื่อมต่อแบบนี้ หากเชิร์ฟเวอร์ไม่ได้เปิดใช้งานอยู่ เครื่องลูกข่ายก็ไม่สามารใช้งานบริการได้

       2.3 สวิตซ์ ( Switch )
สวิตซ์ switch หรือ บริดจ์ bridge

       อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่พัฒนามาจากฮับ ลักษณะทางกายภาพของเน็กเวิร์ดสวิตซ์นั้นจะเหมือนกับเน็ตเวิร์ดฮับทุกอย่าง แตกต่างกันตรงที่
         - สวิตส์จะเลือกส่งข้อมูลถึงผู้รับเท่านั้น
         - สวิตส์มีความร็วสูง
         - มีความปลอดภัยสูงกว่า
         - สามารถรับส่งข้อมูลได้ในเวลาเดียวกัน

      2.4 บริดจ์ ( Bridge )
เร้าเตอร์ wifi

       เป็นอุปกรณ์เครือข่ายที่เชื่อม 2 เครือข่ายเข้าด้วยกัน เสมือนเป็นสะพานเชื่อมโยงระหว่าง 2 เครือข่ายบริดจ์มีความสามารถมากกว่าฮับและรีพีตเตอร์ กล่าวคือ สามารถกรองข้อมูลที่จะส่งได้ โดยตรวจสอบว่า
         - ตรวจสอบความสามารถของข้อมูล
         - ส่งข้อมูลไปในเครื่องที่ต้องการเท่านั้น
         - จัดการความหนาแน่นของข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

       2.5 เร้าเตอร์ ( Router )
wireless router

       จะช่วยให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถส่อสารหากันได้และสามารส่งผ่านข้อมูลระหว่าง 2 เครือข่าย เช่น เครือข่ายในบ้านกับอินเตอร์เน็ตโยที่แบบมีสายและไร้สาย นอกจากนี้เร้าเตอร์ยังมีระบบรักษาความปลอดภัย คือ ไฟล์วอร์

       2.6 เกตเวย์ (Gateway)
เกตเวย์ ( gateway )

       เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อเครือข่ายต่างๆให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ 2 ระบบมีความแตกต่างกัน คือ
         - มีโปรโตคลอที่ต่างกัน
         - มีขนาดเครือข่ายต่างกัน
         - มีระบบเครือข่ายต่างกน เช่นเครื่อง PC และ เครื่อง MAX ทำให้สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายระหว่างกันได้








แหล่งที่มา

1.http://551116.blogspot.com/2012/08/network-component-sms-atm-internet.html สืบค้นเมื่อ 20/12/2559

รูปแบบการเชื่อมโยงเครือข่ายและเครือข่ายท้องถิ่น(บทที่ 4)

1. การเชื่อมต่อเครือข่าย
1.1 การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบจุดต่อจุด ( Point to Point )

       เป็นการเชื่อมโยง คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเครือข่ายเข้าด้วยกันแบบจุดต่อจุด คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ทุกๆ ตัว มีสายหรือสื่อส่งข้อมูลต่อเฉพาะระหว่างอุปกรณ์แต่ละตัว ทำให้มองดูเหมือนกับว่าระหว่างอุปกรณ์ 2 ตัวมีถนนที่ใช้เฉพาะ 2 อุปกรณ์นั้นๆ  ดังนั้นถ้าเรามีอุปกรณ์ n ตัว แต่ละตัวต้องมีช่องทางสื่อสาร ( channel ) เท่ากับ n- 1 ช่อง และมีช่องทางทั้งหมดในเครือข่ายเท่ากับ n( n-1 )/2 ช่อง ดังแสดงในรูปภาพ
การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบจุดต่อจุด
ข้อดี

       (1)    มีความเร็วในการสื่อสารข้อมูลสูง โปรแกรมที่ใช้ในการควบคุมการสื่อสารก็เป็นแบบพื้นฐานไม่ซับซ้อนมากนัก

       (2)    สามารถรับส่งข้อมูลได้ปริมาณมากและไม่มีปัญหาเรื่องการจัดการการจราจรในสื่อ ส่งข้อมูลไม่เหมือนกับแบบที่ใช้สื่อส่งข้อมูลร่วมกัน

       (3)    มีความทนทานต่อความเสียหายเมื่อสื่อส่งข้อมูลหรือสายใดสายหนึ่งเสียหายใช้ การไม่ได้ ไม่ส่งผลต่อระบบเครือข่ายโดยรวม แต่เกิดเสียหายเฉพาะเครื่องต้นสายและปลายสายเท่านั้น

       (4)    ระบบเครือข่ายมีความปลอดภัยหรือมีความเป็นส่วนตัว เมื่อข่าวสารถูกรับส่งโดยใช้สายเฉพาะระหว่าง 2 เครื่องเท่านั้น เครื่องอื่นไม่สามารถเข้าไปใช้สายร่วมด้วย

       (5)    เนื่องจากโทโพโลยีแบบสมบูรณ์เป็นการเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุด ทำให้เราสามารถแยกหรือระบุเครื่องหรือสายที่เสียหายได้ทันที ช่วยให้ผู้ดูแลระบบแก้ไขข้อผิดพราดหรือจุดที่เสียหายได้ง่าย

ข้อเสีย

       (1)    จำนวนสายที่ใช้ต้องมีจำนวนมากและอินพุด/เอาต์พุตพอร์ต ( i/o port ) ต้องใช้จำนวนมากเช่นกัน เพราะแต่ละเครื่องต้องต่อเชื่อมไปยังทุก ๆ เครื่องทำให้การติดตั้งหรือแก้ไขระบบทำได้ยาก

       (2)    สายที่ใช้มีจำนวนมาก ทำให้สิ้นเปลืองพื้นที่ในการเดินสาย

       (3)    เนื่องจากอุปกรณ์ต้องการใช้อินพุด/เอาต์พุตพอร์ตจำนวนมาก ดังนั้นราคาของอุปกรณ์ต่อเชื่อมจึงมีราคาแพงและจากข้อเสียข้างต้นทำให้โทโพ โลยีแบบสมบูรณ์จึงถูกทำไปใช้ค่อนข้างอยู่ในวงแคบ

1.2 การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบหลายจุด ( Multipoing or Multidrop )
       เนื่องจากการเชื่อมโยงแบบจุดต่อจุดนั้นสิ้นเปลืองสายสื่อสารมากเกินไป และในการส่งข้อมูลส่วนใหญ่มักใช้งานไม่เต็มประสิทธิภาพของสาย สื่อสาร แบบการเชื่อมโยงที่คุ้มค่ากว่าคือการใช้สายสื่อสารเพียงสายเดียว แต่เชื่อมต่อกับเทอร์มินัลได้หลายๆ เครื่อง หรือหลายๆ จุด

การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบหลายจุด

2. โทโปโลยีแบบบัส

       เป็นโทโปโลยีที่ได้รับความนิยมใช้กันมากที่สุดมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ลักษณะการทำงานของเครือข่าย โทโปโลยีแบบบัส คืออุปกรณ์ทุกชิ้นหรือโหนดทุกโหนด ในเครือข่ายจะต้องเชื่อมโยงเข้ากับสายสื่อสารหลักที่เรียกว่า”บัส” ( BUS ) เมื่อโหนดหนึ่งต้องการจะส่งข้อมูลไปให้ยังอีกโหนด หนึ่งภายในเครือข่าย จะต้องตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่าบัสว่างหรือไม่ ถ้าหากไม่ว่างก็ไม่สามารถจะส่งข้อมูลออกไปได้ ทั้งนี้เพราะสายสื่อสารหลักมีเพียงสายเดียว ในกรณีที่มีข้อมูลวิ่งมาในบัส ข้อมูลนี้จะวิ่งผ่านโหนดต่างๆ ไปเรื่อยๆ ในขณะที่แต่ละโหนดจะคอยตรวจสอบข้อมูลที่ผ่านมาว่าเป็นของตนเองหรือไม่ หากไม่ใช่ ก็จะปล่อยให้ข้อมูลวิ่งผ่านไป แต่หากเลขที่อยู่ปลายทาง ซึ่งกำกับมากับข้อมูลตรงกับเลขที่อยู่ของของตน โหนดนั้นก็จะรับข้อมูลเข้าไป

โทโปโลยีแบบบัส
ข้อดี
       1. ใช้สายส่งข้อมูลน้อยและมีรูปแบบที่ง่ายในการติดตั้ง ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและบำรุงรักษา
       2. สามารถเพิ่มอุปกรณ์ชิ้นใหม่เข้าไปในเครือข่ายได้ง่าย

ข้อเสีย

       1. ในกรณีที่เกิดการเสียหายของสายส่งข้อมูลหลัก จะทำให้ทั้งระบบทำงานไม่ได้
       2. การตรวจสอบข้อผิดพลาดทำได้ยาก ต้องทำจากหลาย ๆจุด

3. โทโปโลยีแบบดาว  

       โทโปโลยีแบบดาว ( Star Topology ) เป็นรูปแบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันในเครือ ข่าย จะต้องเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ตัวกลางตัวหนึ่งที่เรียกว่า ฮับ ( HUB ) หรือสวิตช์ ( Switch ) หรือเครื่อง ๆ หนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของการเชื่อมต่อสายสัญญาญที่มาจากเครื่องต่าง ๆ ในเครือข่าย และควบคุมเส้นทางการสื่อสาร ทั้งหมด เมื่อมีเครื่องที่ต้องการส่งข้อมูลไปยังเครื่องอื่น ๆ ที่ต้องการในเครือข่าย เครื่องนั้นก็จะต้องส่งข้อมูลมายัง HUB หรือเครื่องศูนย์กลางก่อน แล้ว HUB ก็จะทำหน้าที่กระจายข้อมูลนั้นไปในเครือข่ายต่อไป
โทโปโลยีแบบดาว 
ข้อดี

       – การติดตั้งเครือข่ายและการดูแลรักษาทำ ได้ง่าย หากมีเครื่องใดเกิดความเสียหาย ก็สามารถตรวจสอบได้ง่าย และศูนย์ กลางสามารถตัดเครื่องที่เสียหายนั้นออกจากการสื่อสาร ในเครือข่ายได้เลย โดยไม่มีผลกระทบกับระบบเครือข่าย

ข้อเสีย

       – เสียค่าใช้จ่ายมาก ทั้งในด้านของเครื่องที่จะใช้เป็น เครื่องศูนย์กลาง หรือตัว HUB เอง และค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสายเคเบิลในเครื่องอื่น ๆ ทุกเครื่อง การขยายระบบให้ใหญ่ขึ้นทำได้ยาก เพราะการขยายแต่ละครั้ง จะต้องเกี่ยวเนื่องกับเครื่องอื่นๆ ทั้งระบบ

4. โทโปโลยีแบบวงแหวน ( RING )

       เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบเครือข่าย ทั้งเครื่องที่เป็นผู้ให้บริการ ( Server ) และ เครื่องที่เป็นผู้ขอใช้บริการ ( Client ) ทุกเครื่องถูกเชื่อมต่อกันเป็นวงกลม ข้อมูลข่าวสารที่ส่งระหว่างกัน จะไหลวนอยู่ในเครือข่ายไปใน ทิศทางเดียวกัน โดยไม่มีจุดปลายหรือเทอร์มิเนเตอร์เช่นเดียวกับเครือข่ายแบบ BUS ในแต่ละโหนดหรือแต่ละเครื่อง จะมีรีพีตเตอร์ ( Repeater ) ประจำแต่ละเครื่อง 1 ตัว ซึ่งจะทำหน้าที่เพิ่มเติมข้อมูลที่จำเป็นต่อการติดต่อสื่อสารเข้าในส่วนหัวของแพ็กเกจที่ส่ง และตรวจสอบข้อมูลจากส่วนหัวของ Packet ที่ส่งมาถึง ว่าเป็นข้อมูลของตนหรือไม่ แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยข้อมูลนั้นไปยัง Repeater ของเครื่องถัดไป
โทโปโลยีแบบวงแหวน

5. โครงการหมายเลข 802 ( Project 802 )

          ในปี ค.ศ. 1985 ทางสถาบัน IEEE ได้ริเริ่มโครงการสำคัญโครงการหนึ่ง โดยตั้งชื่อโครงการนี้ว่า โครงการหมายเลข 802 หรือ Project 802 โดยโครงการดังกล่าวจัดตั้งขึ้นเพื่อต้องการให้ผลิตภัณฑ์อุปกรณ์สื่อสารที่มาจากแหล่งผู้ผลิตต่าง ๆ สามารถสื่อสารให้เป็นไปตามมาตรฐานเดียวกัน แต่โครงการนี้มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำมาใช้ทดแทนมาตรฐาน OSI โมเดลที่ทางหน่วยงาน ISO จัดตั้งขึ้นแต่อย่างใด เนื่องจากโครงการหมายเลข 802 มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดหน้าที่และรายละเอียดของชั้นสื่อสารฟิสิคัล ดาต้าลิงก์ และมีส่วนขยายเพิ่มเติมบางส่วนอีกเล็กน้อย ที่นำมาใช้งานเพื่อการเชื่อมต่อเครือข่ายท้องถิ่นเป็นหลักสำคัญ

Name

Description

Note

IEEE 802.3 Ethernet
IEEE 802.4 Token bus disbanded
IEEE 802.5 Defines the MAC layer for a Token Ring inactive
IEEE 802.11 a/b/g/n Wireless LAN (WLAN) & Mesh (Wi-Fi certification)
IEEE 802.15.1 Bluetooth certification
IEEE 802.16 Broadband Wireless Access (WiMAX certification)

6.ระบบเครือข่ายท้องถิ่น ( LAN: Local Area Network )

           เป็นระบบเครือข่ายขนาดเล็กที่ใช้ในการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ในบริเวณใกล้ เคียงเข้าด้วยกัน เช่น ในห้อง 1 ห้อง หรือในชั้น 1 ชั้น โดยทั่วไป LAN จะใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการเชื่อมต่อกันระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ กับอุปกรณ์ ต่าง ๆ ในอาคาร เพื่อจะทำการใช้ข้อมูลและอุปกรณ์ที่มีราคาแพง เช่น เครื่องพิมพ์ร่วมกัน ในระบบโรงงานจะมีการใช้ระบบ LAN มาก โดยการเชื่อมโยงระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับ เครื่องจักรที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์นั้น ๆ ส่วนประกอบที่สำคัญมากในระบบ LAN คือ file server เป็นอุปกรณ์ที่ ทำหน้าที่เป็นบรรณารักษ์ ดูแลอะไรอยู่ที่ไหนด้วยการจัดเก็บข้อมูลและโปรแกรม ตลอดจนกำหนดวิธีการในการเข้าถึงข้อมูล ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ server จะต้องมีโปรแกรมที่ทำหน้าที่เป็นระบบปฏิบัติการเครือข่าย หรือ NOS ( Network Operating System ) เช่น Novell Netware, Windows NT, UNIX เป็นต้น

7.อีเทอร์เน็ต ( อังกฤษ: Ethernet ) 

       เป็นเทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เป็นฐานหลักของเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งหมด เนื่องจากเป็นเทคโนโลยี LAN ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เทคโนโลยีนี้ได้ถูกพัฒนาและปรับปรุงภายใต้ความดูแลรับผิดชอบของ IEEE สิ่งสำคัญที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงปรับปรุง คือ "ความเร็วในการรับส่งข้อมูล ( Bandwidth )" โดยมีการปรับปรุงความเร็วจาก 10 Mbps เป็น 100 Mbps ซึ่งเรียก Ethernet นี้ว่า Fast Ethernet ซึ่งได้รับความนิยมมากกว่า ATM ( Asynchronous Transfer Mode )

8.ไอบีเอ็มโทเค็นริง ( IBM Token Ring )

        โปรโตคอล CSMA/CD ที่ใช้งานบนเครือข่ายอีเทอร์เน็ต เป็นกลไกการส่งข้อมูลบนเครือข่ายที่มีโอกาสเกิดการชนกันของกลุ่มข้อมูลสูงเมื่อการจราจรบนเครือข่ายหนาแน่น ในขณะเดียวกันโปรโตคอล Token Passing ที่ใช้งานบนเครือข่ายโทเค็นริงนั้นจะไม่ก่อให้เกิดการชนกันของกลุ่มข้มูลเลย
 กลไกการทำงานของ Token Passing ก็คือ ในช่วงเลาหนึ่งจะมีเพียงโหนดเดียวที่สามารถส่งข้อมูลในขณะนั้นได้ นั่นก็คือโหนดที่ครอบครองโทเค็น โดยโทเค็นจะไปพร้อมกับข้อมูลที่ส่งไปยังโหนดภายในวงแหวน หากโหนดใดได้รับข้อมูลพร้อมรหัสโทเค็นแล้วตรวจสอบพบว่าไม่ใช่ข้อมูลที่ส่งมายังตน ก็จะส่งทอดไปยังโหนดถัดไปภายในวงแหวนไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงโหนดปลายทางที่ต้องการ เมื่อครบรอบวงแล้วรหัสโทเค็นก็จะเข้าสู่สภาวะว่างอีกครั้งหนึ่ง ด้วยการส่งทอดรหัสว่างไปตามวงแหวนผ่านโหนดต่าง ๆ เป้นวงรอบและพร้อมที่จะให้โหนดอื่น ๆ ครอบครองโทเค็นเพื่อการส่งข้อมูลในรอบต่อไป
 สำหรับสายเคเบิ้ลที่ใช้งานบนเครือข่ายไอบีเอ็มโทเค็นริง สามารถใช้สายแบบเอสทีพีหรือยูทีพีก็ได้ พร้อมหัวปลั๊กเชื่อมต่ชนิด IBM-Type1

9.เอฟดีดีไอ (FDDI) คืออะไร


       เอฟดีดีไอ หรือเรียกอีกชื่อเต็มว่า Fiber Distributed Data Interface:FDDI คือ หน่วยงาน ANSI ได้ทำการกำหนดโปรโตรคลอที่ใช้งานบนเครือข่ายท้องถิ่น โดยมีการควบคุมแบบโทเค็ริง ด้วยการส่งข้อมูลที่มีความเร็วถึง 100 เมกะบิตต่อวินาทีบนสายเคเบิลใยแก้วนำแสง กลไกการส่งข้อมูลบนเครือข่ายเอฟดีดีไอจะใช้ Token Passing เช่นเดียวกับไอบีเอ็มโทเค็นริง แต่เอฟดีดีไอ(FDDI) จะทำงานด้วยความเร็วที่สูงกว่า ประกอบกับเครือข่ายเอฟดีดีไอยังสามารถที่จะออกแบบเพื่อรอบรับในความเสียหาของระบบได้ดี ด้วยการเพิ่มวงแหวนในระบบเครือข่ายอีก รวมเป็น 2 วงแหวนด้วยกัน ซึ่งประกอบด้วยวงแหวนปฐมภูมิและวงแหวนทุติยภูมิ

     วงแหวนปฐมภูมิ(Primary Ring) คือ วงแหวนหลักด้านนอกซึ่งใช้เป็นสายส่งข้อมูลหลักภายในระบบเครือข่าย โดยรหัสโทเค็นจะวิ่งวนรอบวงแหวนทิศทางใดก็ทิศทางหนึ่ง
     วงแหวนทุติยภูมิ(Secondary Ring) คือวงแหวนสำรองที่อยู่ด้านในสุด โทเค็นที่อยู่ในวงแหวนด้านในจะวิ่งในทิศทางตรงกันข้ามกับวงแหวนด้านนอก โดยวงแหวนทุติยภูมิจะถูกใช้งานก็ต่อเมื่อวงแหวนปฐมภูมิเกิดปัญหาเท่านั้น เช่น สายเคเบิลที่วงแหวนในปฐมภูมิเกิดการขาด และเมื่อเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น วงจรภายในวงแหวนทุติยภูมิก็จะเริ่มทำงานทันทีด้วยการเชื่อมต่อเข้ากับวงแหวนปฐมภูมิ ทำให้สามารถประคับประคองระบบให้ยังคงสามารถทำงานต่อไปได้ โดยเทเค็นเองก็ยังคงสามารถวิ่งภายในรอบวงแหวนได้เช่นเดิม ทำให้เครือข่ายสามารถดำเนินการต่อได้ตามปกติ
















แหล่งที่มา

1.https://sites.google.com/site/day15396/3 สืบค้นเมื่อ 20/12/2559
2.https://sites.google.com/site/day15396/9 สืบค้นเมื่อ 20/12/2559
3.https://sangdao53.wordpress.com/บทที่-3/รูปแบบการเชื่อมต่อระบบ/ สืบค้นเมื่อ 20/12/2559
4.http://vararat22.blogspot.com/2014/09/blog-post_34.html สืบค้นเมื่อ 20/12/2559
5.http://soriy.blogspot.com/2012/03/blog-post.html สืบค้นเมื่อ 20/12/2559
6.https://th.wikipedia.org/wiki/อีเทอร์เน็ต สืบค้นเมื่อ 20/12/2559
7.http://chummy-online.blogspot.com/2012/10/ibm-token-ring.html สืบค้นเมื่อ 20/12/2559
8.http://nestext.com/เอฟดีดีไอ-(FDDI)-คืออะไร-6-16-51 สืบค้นเมื่อ 20/12/2559